วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Smooth Sailing or Stormy Seas? Atlantic Canadian Physical Educators on the State and Future of Physical Education

Smooth Sailing or Stormy Seas? Atlantic Canadian Physical Educators on the State and Future of Physical Education
Robinson, Daniel B.; Randall, Lynn
Canadian Journal of Education, v39 n1 2016
This article summarizes results from a recently completed study that focused upon the current state and possible future of physical education within Canada's four Atlantic provinces. Data from both large-scale surveys and eight follow-up focus group interviews are shared as they relate to the state and future of physical education, possible reforms in physical education, and two elements of NASPE's "PE2020" framework (physical education teacher education [PETE], curriculum). Results suggest physical educators within Atlantic Canada are largely satisfied with the state of physical education, with few (external) negative observations. Moreover, there is little-to-no perceived need for internal reform within the discipline. Physical educators also provided insightful information related to their beliefs and practices regarding PETE and curriculum. Results might be of particular interest to those similarly engaged in "futures" inquiry within physical education. More specifically, this research attends to the call for physical educator-informed reform efforts.
Canadian Society for the Study of Education (CSSE). 260 Dalhousie Street Suite 204, Ottawa, ON K1N 7E4, Canada. Tel: 613-241-0018; Fax: 613-241-0019; e-mail: csse-scee@csse.ca; Web site: http://www.csse.ca/CJE/General.htm
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: Elementary Secondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: Canada

Impacting Children's Health and Academic Performance through Comprehensive School Physical Activity Programming
Brusseau, Timothy A.; Hannon, James C.
International Electronic Journal of Elementary Education, v7 n3 p441-450 2015
Physical activity is associated with numerous academic and health benefits. Furthermore, schools have been identified as an ideal location to promote physical activity as most youth attend school regularly from ages 5-18. Unfortunately, in an effort to increase academic learning time, schools have been eliminating traditional activity opportunities including physical education and recess. To combat physical inactivity in you, numerous organizations are promoting a Comprehensive School Physical Activity Program to encourage academic achievement and overall health. Comprehensive School Physical Activity Programs include five components and should be centered around 1) quality physical education, 2) physical activity before and after school, 3) physical activity during school (both recess and classroom activity), 4) staff involvement, and 5) family and community engagement.
International Electronic Journal of Elementary Education. T&K Akademic Rosendalsvein 45, Oslo 1166, Norway. e-mail: iejee@iejee.com; Web site: http://www.iejee.com
Publication Type: Journal Articles; Reports - Descriptive
Education Level: Elementary Secondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

Developing Effective Physical Fitness Testing Standards for Pre Service Physical Educators
Hill, Kory; Thornburg, Roland
Networks: An Online Journal for Teacher Research, v18 n2 Article 5 Fall 2016
Physical educators are often held to a higher standard of physical fitness. The ability to effectively convey the importance of physical fitness may depend upon the ability to appear physically fit. The ability to perform at a minimal level of proficiency on fitness tests was deemed important by the faculty of one physical education teacher education program (PETE). In an action research evaluation, the faculty examined standards presented in the literature, as well as questionnaire responses by students, to develop reasonable passing scores for physical education majors. Results indicated the students are receptive to minimal standards and the initial standards are achievable by most students in the PETE program.
New Prairie Press, Kansas State University Libraries. 137 Hale Library, Manhattan, KS 66506. e-mail: nppress@ksu.edu; Web site: http://newprairiepress.org
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: Higher Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: Alabama

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ระบบsisa

                      ระบบการทำงานของ sisa
ขั้นตอนการเข้าระบบข้อมูลนักศึกษาระบบ sisa online 
 SISA – School Information System Advance  คือ โปรแกรมระบบบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะที่เหมาะสำหรับการบริหารงานที่ครอบคลุมการทำงานทุกฝ่ายภายในองค์กร พัฒนาโดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สามารถทำงานได้ทุกที ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ ลดขั้นตอนในการทำงาน ลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล บุคลากรทุกแผนก ทุกฝ่าย สามารถดึงข้อมูลจากระบบมาใช้ได้ทันทีโดยง่ายและสะดวก  จึงทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถส่งต่อข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน ส่งผลให้ระบบงานบริหารภายในสถานศึกษามีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลา
     SISA  มีลักษณะการทำงานเป็น  Modules (โมดูล) โดยแบ่งตามลักษณะการจัดการข้อมูลของสถานศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานศึกษาได้ทั้งหมด มีโมดูล ดังนี้
1. ระบบจัดการสิทธิ์ผู้ใช้งาน  ดูตัวอย่าง9. ระบบพฤติกรรม  ดูตัวอย่าง
 2. ระบบจัดการข้อมูลสถานศึกษา  ดูตัวอย่าง 10.ระบบบริการเอกสารออนไลน์  ดูตัวอย่าง
 3. ระบบรับสมัครนักเรียน/นักศึกษา  ดูตัวอย่าง 11. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ดูตัวอย่าง
 4. ระบบการเงิน  ดูตัวอย่าง 12. ระบบอาจารย์ประจำวิชา  ดูตัวอย่าง
 5. ระบบทะเบียนนักเรียน/นักศึกษา  ดูตัวอย่าง 13. ระบบส่ง SMS  ดูตัวอย่าง
 6. ระบบงานวิชาการ  ดูตัวอย่าง 14. ระบบนักเรียน-ผู้ปกครอง ดูตัวอย่าง
 7. ระบบงานทะเบียนวัดผล  ดูตัวอย่าง 15. ระบบห้องสมุด  ดูตัวอย่าง
8.  ระบบบุคลากร  ดูตัวอย่าง
  1. คลิกที่สำหรับนักศึกษา
  2. ใส่รหัสผู้ใช้ STD ตามด้วยรหัสนักศึกษา 6 หลัก  เช่น STD111111
*ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น
  1. ใส่รหัสผ่าน เป็นเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เช่น 1111111111111
  2. คลิกเข้าสู่ระบบ
  3. ให้นักศึกษาสังเกต ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 1 ถ้าไม่ใช่ให้นักศึกษา


คลิกเปลี่ยนให้ถูกต้องเพื่อจะดูข้อมูล






  
SISA เป็นโปรแกรมระบบบริหารสถานศึกษา ซึ่งพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Web Application ใช้งานผ่าน Browser สามารถติดตั้งได้ทั้งบนเครื่องแม่ข่าย Server และระบบคลาวน์ Cloud Computing พร้อมทั้งสนับสนุนการเข้าถึงระบบโดยมีอุปกรณ์มือถือ แท็บเล็ต แล็บท๊อป หรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
  SISA Server  ติดตั้งในเครื่อง Server  ของสถานศึกษาเอง สามารถทำงานได้ทั้งเครือข่ายภายใน (Intranet) และเครือข่ายภายนอก (Internet)

ประโยชน์

1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
2. มีความเสถียรในการใช้งาน (ระบบไม่ล่ม)
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. สถานศึกษาไม่ต้องขยายเครือข่ายเพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้จากภายนอก
5. มีความปลอดภัยกว่า


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิทยานิพนธ์ นายธีระพงษ์ ประสากุล

ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู
Title Alternative
THE SECONDARY SCHOOL ADMINISTRATORS’ LEADERSHIP ACCORDING TO THE PERCEPTION OF TEACHERS UNDER THE GENERAL EDUCATION DEPARTMENT IN KANCHANABURI PROVINCE

Organization : โรงเรียนประชามงคล จ.กาญจนบุรี
Subject
ThaSH:
Classification :.DDC: 370.2
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของแบสและ อโวลิโอ (Bernard M. Bass and Bruce J. Avolio) ศึกษาระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำ ตามแนวความคิดของเซอร์จิโอวานนี (Thomas J. Sergiovanni ) ใน 4 องค์ประกอบ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำตามแนวความคิดของเซอร์จิโอวานีใน 4 องค์ประกอบ ของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 33 แห่ง โดยมีครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามแนวคิดของแบสและอโวลิโอ ซึ่งประกอบด้วยภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ จำนวน 30 ข้อ และภาวะผู้นำของผู้บริหารตามแนวคิดของเซอร์จิโอวานนี ใน 4 องค์ประกอบ คือ ทักษะความเป็น ผู้นำ สิ่งที่มีมาก่อนในตัวผู้นำ สิ่งที่จำเป็นต้องมีขณะที่เป็นผู้นำ และสิ่งซึ่งแสดงความรู้สึกทางวัฒนธรรมของผู้บริหาร จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับรวมเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ (frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการทดสอบรายคู่ โดยเชฟเฟ่ (Scheffe\\\\\\\' test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของแบสและอโวลิโอ โดยภาพรวม ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามขนาด พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ใช้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ อยู่ในระดับมาก และใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และขนาดเล็ก ใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของ เซอร์จิโอวานนี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งที่จำเป็นต้องมีขณะที่เป็นผู้นำ สิ่งซึ่งแสดงความรู้สึกทางวัฒนธรรมของผู้บริหาร และสิ่งที่มีมาก่อนในตัวผู้นำ ตามลำดับ และด้านทักษะความเป็นผู้นำ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามขนาด พบว่า ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ในระดับมาก ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง 3. ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของ เซอร์จิโอวานนี โดยภาพรวม พบว่า การรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดต่างกัน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน

Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2545
Issued: 2548-09-30
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9747540169
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
RightsAccess


รูปแบบภาวะผู้นำของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม
Title Alternative
Leadership styles of the administrators in primary schools under the jurisdiction of the office of provincial primary education Nakhon Pathom

Organization : โรงเรียนบ้านนาสร้าง
Subject
Classification :.DDC: 371.1106
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำในแต่ละรูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำของแต่ละรูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานบริหาร ขนาดของ โรงเรียน และโอกาสความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 104 คน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 104 คน และหัวหน้าสายชั้นเรียน จำนวน 104 คนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม รวม 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นำในแต่ละรูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม มีภาวะผู้นำ แบบประชาธิปไตยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือรูปแบบภาวะผู้นำแบบอัตตาธิปไตยและ แบบตามสบายอยู่ในระดับปานกลาง ภาวะผู้นำทั้ง 3 รูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานบริหาร ขนาดของโรงเรียนและโอกาสความเจริญก้าวหน้ามีระดับภาวะผู้นำแต่ละรูปแบบไม่แตกต่างกัน The purposes of this research were to study 1) the levels of leadership styles among the administrators of the primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Nakhon Pathom and 2) the comparisons of the levels of the primary school administrators, regarding their gender, age, position, education, administrative experience, and opportunity for job promotion.. The 312 samples consisted of 104 administrators, 104 assistants of administrators, and 104 heads of educational programs in the primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Nakhon Pathom. The instrument was a set of constructed questionnaire. The statistics used for analyzing the acquired data were percentage, arithmetic means ( ), standard deviation (S.D.), t-test and one-way analysis of variance (ANOVA). The findings showed all of the leadership styles of the administrators of the primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Nakhon Pathom were mostly found democratic at high levels, whereas the leadership styles were found dictatorial and laissez fair at medium levels. The comparisons among the three leadership styles showed no significant differences regarding to the primary school administrators’ gender, age, position, education, administrative experience, and opportunity for job promotion.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: นครปฐม
Email: libnpru55@gmail.com
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date
Created: 2546
Modified: 2549-09-27
Issued: 2548-08-04
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: ว 371.1106 ส856ร 2546
Language
tha
Coverage
Spatial: นครปฐม
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1
Title Alternative
The principals leadership styles and the organizational health of the secondary schools under the general education department educational region 1

Address: 93/15 หมู่ 8 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม 73160
Organization : โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา จังหวัดนครปฐม
Subject
Classification :.DDC: 373.1201
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 2) สุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 จำนวน 86 โรงเรียน ที่ได้รับการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบภาวะผู้นำของเรดดินและแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพองค์การของฮอย, ทาร์เทอร์ และคอทแคมพ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ไคสแควร์ (2) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา1 เป็นแบบเพิกเฉยมากที่สุด รองลงมาเป็นแบบนักบริหาร 2. สุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 อยู่ ในระดับต่ำ 27 โรงเรียน ( 31.40 %) ระดับกลาง 29 โรงเรียน ( 33.72 %) และระดับสูง 30 โรงเรียน (34.88 %) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to study 1) the leadership styles among the principals of the secondary schools under the General Education Department, Educational Region 1, 2) the organizational health of the secondary schools, and the relationship between the principals’ leadership style and the organizational health of the schools under the General Education Department, Educational Region 1. The samples consisted of administrators and teachers in 86 schools randomly selected from the secondary schools under the General Education Department, Educational Region 1. The instruments were Reddin’s Managerial Style Diagnosis Test and Hoy, Tarter and Kottkamp’s Organizational Health Inventory. The statistics used for analyzing the acquired data were percentage, arithmetic means ( ), standard deviation (S.D.), and Chi-Square (X2). . The results of the research were as follows: 1. The leadership styles among the principals of the secondary schools under the General Education Department, Educational Region 1, were mostly indifferent; and secondly administrative. 2. The organizational health of the secondary schools under the General Education Department, Educational Region 1, were found high (34.88 per cent), moderate (33.72 per cent), and low (31.40) respectively. 3. The relationships between the principals’ leadership styles and the organizational health of the secondary schools under the General Education Department, Educational Region 1, were found significantly different at .05 levels.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: นครปฐม
Email: libnpru55@gmail.com
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date
Created: 2546
Modified: 2549-10-02
Issued: 2548-08-05
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: ว 373.1201 ช162บ 2546
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม